การติดตั้งแผงสายอากาศ

ปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อ 25-05-2552

       การติดตั้งแผงสายอากาศส่ง เอฟเอ็ม

ภาพที่เห็นเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของงานที่ทำไปแล้ว แต่ละชิ้นผ่านการทดสอบการใช้งานจริงมาแล้ว ยืนยันว่ามีประสิทธิภาพดี สนใจต้องการนำไปใช้งาน สอบถามก่อนได้ ที่โทรศัพท์หมายเลข 086-8772790   Email

2 Aray Antenna With Phasing Line

การติดตั้งแผงสายอากาศแบบ ใช้ สายเฟสซิ่งไลน์ ต่อเข้ากับแผงสายอากาศ 2 แผง  โดยใช้สายนำสัญญาณที่มี Impedanc 75 ohm จำนวน 2 เส้น ต่อขนานกัน แล้วจึงต่อปลายล่างเข้ากับสาย Transmssion Line 50 Ohm ไปเข้าเครื่องส่งต่อไป  ใช้งานกับกำลังส่ง ไม่ควรเกิน 300 Watts  หากต้องการใช้งานที่กำลังส่งสูงกว่านี้ให้เปลียนมาใช้ Power Divider  แทนการใช้สายเฟส

 

4 Aray Antenna With Phasing Line

การติดตั้งแผงสายอากาศแบบ ใช้ สายเฟสซิ่งไลน์ ต่อเข้ากับแผง สายอากาศ 4 แผง  โดยการใช้สาย 75 ohm มาตัดให้ตรง Phase กัน เราเรียกว่า สายเฟส (Phasing Line) เมื่อต่อร่วมกัน (ขนาน) ก็จะได้ Impedance 50 ohm แล้วจึงใช้สาย Transmission Line 50 Ohm ต่อ เข้ากับเครื่องส่ง  ใช้งานกับกำลังส่ง ไม่ควรเกิน 300 Watts หากต้องการใช้งานที่กำลังส่งสูงกว่านี้ให้เปลี่ยนมาใช้ Power Divider แทนการใช้สายเฟส

8 Aray Antenna With Phasing Line

การติดตั้งแผงสายอากาศแบบ ใช้ สายเฟสซิ่งไลน์  ต่อเข้ากับแผงสายอากาศ 8 แผง แล้วจึงต่อปลายล่าง เข้ากับเครื่องส่ง  ใช้งานกับกำลังส่ง ไม่ควรเกิน 300 Watts  หากต้องการใช้งานที่กำลังส่งสูงกว่านี้ให้เปลี่ยนมาใช้ Power Divider  แทนการใช้สายเฟส

4 Aray Antenna 1 Power Divider 1 Port to 4 Ports

การติดตั้งแผงสายอากาศแบบ ใช้ 4 Ports Power Divider เข้ากับแผงสายอากาศ 4 แผง สามารถต่อได้โดยตรง โดยใช้สายนำสัญญาณที่มี Impedance 50 ohm จำนวน 4 เส้น เข้าหัวสายให้เรียบร้อย แล้วจึงต่อปลายล่าง  เข้ากับเครื่องส่ง สามารถรับกำลังส่งได้สูงถึง 1,000 Watts (หากต้องการใช้กับกำลังส่งสูงกว่านี้ บอกด้วยจะได้ออกแบบหัว Connector ให้รองรับได้)

6 Aray Antenna 1 Power Divider 1 Port to 6 Ports

การติดตั้งแผงสายอากาศแบบ ใช้ 6 Ports Power Divider เข้ากับแผงสายอากาศ 6 แผง สามารถต่อได้โดยตรง โดยใช้สายนำสัญญาณที่มี Impedance 50 ohm จำนวน 6 เส้น เข้าหัวสายให้เรียบร้อย แล้วจึงต่อระหว่างแผงสายอากาศส่งกับ Power Divider แล้วจึงต่อปลายล่างทางด้าน Input ของ Power Divider เข้ากับสาย Feeder (Transmission Line) 50 ohm  เข้ากับเครื่องส่ง สามารถรับกำลังส่งได้สูงถึง 1,000 Watts (หากต้องการใช้กับกำลังส่งสูงกว่านี้ บอกด้วยจะได้ออกแบบหัว Connector ให้รองรับได้)

8 Aray Antenna 1 Power Divider 1 Port to 4 Ports and Phasing Line

การติดตั้งแผงสายอากาศแบบ ใช้ 4 Ports Power Divider ผสมกับการใช้สายเฟส เพื่อให้ใช้งานได้กับแผงสายอากาศ 8 แผง ก็สามารถทำได้โดยการใช้สาย 75 ohm มาตัดให้ตรง Phase กัน เราเรียกว่า สายเฟส (Phasing Line)  เมื่อต่อร่วมกัน (ขนาน) ก็จะได้ Impedance 50 ohm แล้วจึงใช้สาย 50 ohm ต่อกับสายเฟส ทั้ง 4 ชุด ปลายอีกด้านเข้าหัวสายให้เรียบร้อย ต่อเข้ากับ Power Divider ทั้ง 4 port จากนั้นจึงต่อปลายล่าง (Input) เข้ากับ Transmission Line 50 Ohm ไปยังเครื่องส่ง ข้อดีก็คือ ประหยัดค่า Power Divider  และจะใช้สายคิดเป็นความยาวรวมน้อยกว่าแบบใช้ Power Divider 8 port เล็กน้อย (total loss น้อยกว่าเล็กน้อยเช่นกัน) หากแบบนี้ยุ่งยาก จะใช้ Power Divider แบบ เข้า 1 ออก 8 เลยก็ได้

 

8 Aray Antenna 1 Power Divider 1 Port to 8 Ports 

การติดตั้งแผงสายอากาศแบบ ใช้ 8 Ports Power Divider แบบนี้จะติดตั้งได้ง่าย และสะดวกดี แต่จะใช้ สายนำสัญญาณมากสักหน่อย ค่ากำลังงานสูญเสียรวมทั้งหมด (Total Loss) อาจมากกว่าแบบผสม (Power Divider 4 Port ตัวเดียว) เล็กน้อย แต่การซ่อมบำรุงจะง่ายกว่า การตรวจสอบปัญหาที่แผงส่ง สามารถแยกตรวจสอบแผงใครแผงมันได้เลย  ข้อดีอีกอย่างก็คือรับกำลังส่งได้สูง ถึงสูงมาก (ขึ้นอยู่กับการออกแบบแผง วัสดุที่ใช้ และหัว Connector ทางด้าน Input ของ Power Divider)

 

8 Aray Antenna with 3 Power Divider

การติดตั้งแผงสายอากาศแบบ ใช้ Power Divider จำนวน 3 ตัว ประกอบด้วย Power Divider แบบเข้า 1 ออก 2  จำนวน 1 ตัว และ เข้า1 ออก 4  จำนวน 2 ตัว แล้วใช้สายนำสัญญาณ 50 โอห์ม เชื่อมต่อกับแผงสายอากาศส่งทั้งหมด ส่วน สายที่เชื่อมต่อ Power Divider เข้าด้วยกันควรใช้สายที่รับกำลังส่งสูงอีกหน่อย ข้อดีของการต่อใช้งานแบบนี้ ก็คือนอกจากจะสามารถรับกำลังส่งได้สูงแล้ว มันยังรักษาความเสถียรของ อิมพีแดนซ์รวม ของแผงสายอากาศได้ดีกว่าใช้ Power Divider ตัวเดียว ถึงแม้แผงสายอากาศจะมีปัญหาสัก 1 หรือ 2 แผง ก็อาจจะไม่ส่งผลกระทบต่อเครื่องส่งมากนัก ค่า Reflected Power หรือค่า VSWR ที่เครื่องส่งจะไม่สูงมาก (เครื่องส่งจะไม่พังง่าย)

4,8 Aray Antenna with Selft Power Divider

การติดตั้งแผงสายอากาศแบบ ใช้ Power Divider ประกอบเป็นท่อนเดียวกันทั้งชุด ทั้งแบบชุดละ 4  แผง หรือ 8 แผง แผงทั้งหมดต่อขนานกันทั้ง 8 ชุด หรือจัดแบ่งเป็น 2 ชุด ชุดละ 4 แผง แล้วต่อ Feeder เข้าตรงกลางก็ได้ (แล้วแต่เทคนิคของแต่ละผู้ผลิต) แล้วจัดท่อทองแดง ทั้ง Inner และ Outter ให้มีอิมพีแดนซ์เหมาะสมกันกับจำนวนแผงที่ใช้งาน โดยมี Stub ช่วยปรับเฟสของสัญญาณให้สายอากาศทั้งชุดนี้ มี Impedance เหมาะสมหรือให้ได้ 50 โอห์ม J=0 มากที่สุด (ค่า SWR จะน้อยที่สุดด้วย) แล้วจึงต่อปลายล่าง (input) เข้ากับเครื่องส่ง ข้อดีของสายอากาศแบบนี้ก็คือ สามารถรับกำลังส่งได้สูงมากเป็น 10K เลยทีเดียว ที่สำคัญ มันมีอัตราการสูญเสียของสัญญาณก่อนออกไปถึงตัวแผงสายอากาศต่ำมากๆ ส่วนมาก มักจะใช้ตามสถานีวิทยุหลัก ที่มีมาตรฐานการออกอากาศสูงๆ ทีสำคัญที่สุดก็คือ มันมีราคาแพงมาก ถึงมากที่สุดด้วย  หากเป็นของไทยทำเองโดยที่ก๊อปปี้ จากต่างประเทศ  ก็จะมีราคาย่อมลงมา คุณภาพขึ้นอยู่กับ การปรับจูนด์ การทดสอบสอบมาตรฐานการแพร่กระจายคลื่น (Radiation Pattern)ให้ได้รอบตัวมากที่สุด ตลอดจน วัสดุที่นำมาใช้  (แผงแบบนี้เรายังไม่ได้ทำนะครับ เอามาลงให้ดูเปรียบเทียบ ระบบของแผงสายอากาศและเทคนิค)

 

 

 

โฮม ] แผงสายอากาศ ] [ การติดตั้งแผงสายอากาศ ] power divider ] การสั่งซื้อและจัดส่ง ]

ไซท์นี้ได้รับการปรับปรุงครั้งล่าสุด25/05/52